ตำนาน เข็มขัดลำดับสอง “แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล”

ipro168.com ตำนาน มวยปล้ำ เข็มขัดลำดับสอง “แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล”

สำหรับแฟน มวยปล้ำ ที่ติดตามตั้งแต่ยุค 80s หรือ 90s แชมป์โลกอาจไม่ได้มีความหมายมากกว่าแชมป์เส้นอื่น หากเนื้อเรื่อง หรือ ผู้ถือครองตำแหน่งไม่ถูกใจ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเทใจให้กับเข็มขัดอื่นที่มีคุณค่า และ ความหมายมากกว่า เรื่องราวของ แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล (Intercontinental Champion) เข็มขัดแชมป์เส้นรองใน WWE ที่แฟนมวยปล้ำตัวจริงหลงรัก จากแมตช์การปล้ำคุณภาพ และ ทำหน้าที่ผลักดันนักมวยปล้ำฝีมือดี เข้าสู่ตำแหน่งแชมป์โลกมาแล้วมากมาย

เหตุการณ์ที่ทำให้แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล มีคุณค่าไม่แพ้แชมป์โลก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ปี 1987 เจ้าของแชมป์ “มาโชแมน” แรนดี ซาเวจ มีโปรแกรมป้องกันเข็มขัด กับ ริคกี สตีมโบต ในศึก WrestleMania III หนึ่งในโชว์มวยปล้ำ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล

ต่อหน้าแฟนมวยปล้ำ เกือบ 8 หมื่นคน ซาเวจ และ สตีมโบต สร้างแมตช์การปล้ำที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ WWF (ขณะนั้น) การต่อสู้ของทั้งสองได้รับรางวัลแมตช์แห่งปี จาก Pro Wrestling Illustrated และ Wrestling Observer Newsletter หมายความว่า แมตช์นี้ได้การยอมรับจากแฟนทั่วไป และ แฟนฮาร์ดคอร์ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่แมตช์นี้ จะทำให้แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล โดดเด่นไม่แพ้แชมป์โลก WWF นับแต่นั้น

นักมวยปล้ำหน้าใหม่ที่แจ้งเกิดในยุค New Generation ไม่ว่าจะเป็น เบรต ฮาร์ต, ชอว์น ไมเคิลส์, เรเซอร์ รามอน, ดีเซล, บริติช บูลด็อก หรือ มิสเตอร์ เพอร์เฟ็คต์ ต่างพาเหรดเข้ามาคว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล ในช่วงต้นยุค 90’s ก่อนคว้าแชมป์โลก และประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา

การเข้ามาของนักมวยปล้ำเหล่านี้ เพิ่มความนิยมมหาศาลแก่แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล เนื่องจากรายชื่อทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนเป็นนักมวยปล้ำฝีมือดีแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล ทำหน้าที่เข็มขัดแชมป์ลำดับสองของสมาคมเป็นอย่างดี กระทั่งปี 1998 ทาง WWF ตัดสินใจเปลี่ยนแนวทางค่าย จากมวยปล้ำเพื่อคนทุกเพศวัย กลายเป็นมวยปล้ำที่เต็มไปด้วยความรุนแรง กับยุคสมัยที่รู้จักกันดีว่า Attitude Era หรือ ยุคแอดติจูด

ในช่วงต้นยุค 90s แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล คือเข็มขัดที่ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า นักมวยปล้ำรายนี้จะถูกผลักดันในอนาคต ความหมายทั้งหมดหายไปในยุคแอดติจูด กลายเป็นเข็มขัดที่เปลี่ยนเจ้าของบ่อยครั้ง เพื่อเรียกความสนใจจากผู้ชม ด้วยคอนเซ็ปต์ว่า แชมป์เส้นนี้อาจเปลี่ยนมือเมื่อไรก็ได้

จึงได้รับฉายาว่า Workhorse Title เนื่องจากมีการเปลี่ยนเจ้าของบ่อยมาก บางครั้งมากเกินจำเป็น ในปี 1999 มีการเปลี่ยนผู้ถือครองเข็มขัดเส้นนี้รวม 11 ครั้ง แม้แฟนมวยปล้ำหน้าใหม่ที่เพิ่งติดตามมวยปล้ำ ในช่วงยุคแอดติจูด จะรู้สึกสนุกแบบนี้ แต่สำหรับแฟนรุ่นเก่า แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล สูญเสียมนต์ขลัง อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

และไปไกลสุดขีดเมื่อมันตกไปอยู่ในมือของ ไชนา นักมวยปล้ำหญิงฝีมือดี ที่ได้รับความนิยมมหาศาลจากคนดู หากมองย้อนกลับไปจากปี 2020 เราจะรู้สึกว่า นักมวยปล้ำหญิงถือเข็มขัดชายไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นเรื่องดีเสียด้วยซ้ำ

แต่ความจริงที่เกิดขึ้นในปี 1999 คือ ความนิยมในตัว ไชนา ตกลงหลังคว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล สะท้อนความจริงที่ว่า แฟนมวยปล้ำ ไม่ยอมรับว่าเธอดีพอจะถือครองเข็มขัดเส้นนี้ เช่นเดียวกับ แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล ที่ถูกมองเป็น “แชมป์ที่ผู้หญิงก็ถือได้” นับแต่นั้น

ในปี 2011 โคดี โรดส์ เปลี่ยนดีไซน์ของแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล ให้กลายเป็นรูปแบบดั้งเดิมเหมือนช่วงต้นยุค 90s การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ สร้างความพอใจแก่แฟนมวยปล้ำจำนวนมาก หลายคนสัมผัสถึงความศักด์สิทธิ์ของเข็มขัดนี้อีกครั้ง จากรูปลักษณ์ที่แตกต่าง ทั้งที่ความจริง แชมป์อินเตอร์ฯ ถูกใช้งานทิ้งขวางไม่เคยเปลี่ยน

นับจากวันนั้น แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล ยังคงทำหน้าที่ของตัวเองจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นเวลายาวนานกว่า 40 ปี ที่เข็มขัดเส้นนี้มีบทบาทใน WWE ผ่านทั้งช่วงเวลาที่ดีและร้าย แต่ไม่ว่าอย่างไร แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล ยังคงอยู่ในใจแฟนมวยปล้ำ จากเรื่องราวและมรดกที่ส่งต่อถึงวงการมวยปล้ำปัจจุบัน

————————————————————————

สมัคร โปรโมชั้นภายในเดือนนี้ รับโบนัสร้อนแรง แอดเลย ที่ line: @iprobet168

This content is restricted to site members. If you are an existing user, please log in. New users may register below.