เสน่ห์สำคัญของกีฬาโลก กับ แนวคิดผูกขาด ชุดกีฬา ตามแบบฉบับอเมริกัน

ipro168.com เสน่ห์สำคัญของกีฬาโลก กับ แนวคิดผูกขาด ชุดกีฬา ตามแบบฉบับอเมริกัน

ชุดแข่งขัน คือหนึ่งใน เสน่ห์สำคัญของกีฬาโลก โดยเฉพาะกีฬาประเภททีม อย่าง ฟุตบอล, บาสเกตบอล, อเมริกันฟุตบอล, เบสบอล, ฮ็อคกี้น้ำแข็ง ที่ปัจจุบันพัฒนากลายเป็นแฟชั่น

สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศใดที่เริ่มต้น เปลี่ยนเครื่องแต่งกายในเกมกีฬา ให้เป็นเครื่องแต่งกายแฟชั่น ที่เริ่มต้นนำหมวกเบสบอล, รองเท้าเทนนิส, รองเท้าแบดมินตัน มาปรับเปลี่ยน จากอุปกรณ์ในการแข่งขัน ให้กลายเป็นเครื่องแต่งกาย ที่สวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน

ใน ยุค 80’s แฟชั่นขยับจากหมวก และ รองเท้า สู่ชุดแข่งขัน โดยถูกออกแบบให้มีความเป็นแฟชั่น เรียบง่าย เพื่อให้แฟนกีฬาสวมใส่ได้ และ เสื้อแข่งเหล่านี้ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

ลีกกีฬา ที่ผูกกับตัวเอง ให้เข้ากับแฟชั่นและประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ NBA หลังจากการเข้าสู่ลีก NBA ของไมเคิล จอร์แดน ในปี 1984 ลีกเริ่มมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ นักบาสเกตบอลชื่อดัง หันไปเซ็นสัญญา เป็นพรีเซ็นเตอร์รองเท้ากันเป็นแถว ทำให้ NBA มองเห็นถึงโอกาส ที่ใช้เสื้อบาสเกตบอล เพิ่มมูลค่า และขยายฐานการตลาดให้กับลีก

NBA เห็นจุดอ่อนของลีกหลายข้อ ที่จะส่งผลเสียต่อการสร้างมูลค่า ในการขายลิขสิทธิ์ชุดแข่ง คือฐานแฟน NBA ในช่วงเวลานั้น ไม่ได้ใหญ่เท่าใดนัก โดยความสนใจของผู้คนจะอยู่แค่กับทีมดังๆ เช่น บอสตัน เซลติกส์, ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส, นิวยอร์ก นิกส์, ดีทรอยต์ พิสตันส์ หรือ ชิคาโก บูลส์

ด้วยธรรมชาติของลีก NBA ที่ให้ความสำคัญ กับผู้เล่นระดับซูเปอร์สตาร์เป็นหลัก ทำให้ความสนใจของแฟนบาส กระจุกอยู่ที่ผู้เหล่านั้น รวมถึงแฟรนไชส์ที่ผู้เล่นชื่อดังลงเล่น ขณะที่ทีมซึ่งไม่มีซูเปอร์สตาร์ และไร้ความสำเร็จ เรียกได้ว่า แทบไม่มีตัวตนอยู่ใน NBA

จึงมองว่าหากปล่อยให้แต่ละทีม ไปเซ็นสัญญาผู้ผลิตเสื้อแข่งกันเองต่อไป สุดท้ายบริษัทยักษ์ใหญ่ จะวิ่งไปทุ่มรายเงิน เซ็นสัญญากับทีมชื่อดัง ปล่อยให้ทีมเล็กเหงาหงอย ได้ใส่แบรนด์เล็กๆ และได้ค่าเซ็นสัญญาที่น้อยนิด ซึ่งนำมาถึงความเหลื่อมล้ำของทีมในลีก และ จะเริ่มเกิดการผูกขาดความสำเร็จของทีมบาส จากต้นทุนทางรายได้ที่ไม่เท่ากัน

NBA ไม่ได้เปิดให้บริษัทไหนก็ได้ มายื่นประมูลชิงสิทธิ์ เพราะลีกยังมีเงื่อนไขว่า บริษัทที่จะเข้ามาผลิตชุดแข่งให้ NBA ต้องมีกำลังผลิตที่มากพอ กับความต้องการของแฟน, ต้องสามารถกระจายสินค้า วางจำหน่ายได้ทั่วสหรัฐฯ

สุดท้ายแล้ว ก็เป็นแบรนด์ Sand-Knit ที่ได้รับเลือก เข้ามาเป็นผู้ผลิตเสื้อแข่งแต่เพียงเจ้าเดียว ให้กับ NBA ด้วยสัญญา 5 ปี จากนั้น ในฤดูกาล 1990-91 ก็เป็น แบรนด์ Champion ได้เข้ามารับช่วงต่อ โดยทั้ง 2 แบรนด์ ได้ยกระดับเสื้อบาส NBAได้เป็นอย่างดี

ลีกของอเมริกัน มองว่า ไม่มีทีมกีฬาไหน จะโด่งดังเป็นทีมดาวค้างฟ้า ทุกทีมต้องมีขึ้น มีลง มีจุดสูงสุด มีจุดตกต่ำ ดังนั้นลีกอเมริกันเกมส์ ต้องหาหน่วยงานที่จะเข้ามาจัดการ ดูแลรักษาความนิยมของลีก ให้แข่งแกร่งอยู่เสมอ นั่นคือตัวลีก ที่จะเข้ามารับประกันผลประโยชน์ของทุกทีมว่า ต่อให้ทีมเก่งหรือทีมห่วย ทุกทีมจะได้รับผลประโยชน์ที่เท่าเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

NBA คือการจุดประกายให้กับลีกอื่น ได้เดินรอยตาม เช่น NFL ที่นับตั้งแต่ฤดูกาล 2001 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนให้ทั้งลีก หันมาใช้เสื้อแข่งแบบแบรนด์เดียว คือ รีบ็อค ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ไนกี้ ในปี 2012 จนถึงปัจจุบัน

และ MLS คืออีกหนึ่งลีกที่เปลี่ยนมาใช้วิธี ให้แบรนด์เดียวผลิตเสื้อแข่ง นั่นคือ อาดิดาส ในปี 2004 จนถึงปัจจุบัน เพราะสุดท้าย การมีผู้ผลิตเพียงแบรนด์เดียว ตอบโจทย์กับการขยายฐานแฟนคลับ ในต่างประเทศ ได้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่า

แนวทางการให้แบรนด์เพียงแบรนด์เดียว มาผลิตชุดแข่งในลีกกีฬาระดับท็อปของสหรัฐ คือการเข้ากันอย่างลงตัว กับระบบแฟรนไชส์ ซึ่งอันเป็นเอกลักษณ์ ของลีกอเมริกันเกมส์

————————————————————————

สมัคร โปรโมชั้นภายในเดือนนี้ รับโบนัสร้อนแรง แอดเลย ที่ line: @iprobet168

This content is restricted to site members. If you are an existing user, please log in. New users may register below.